ยินดีต้อนรับสู่บล็อก

วันจันทร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2556

การผลิตน้ำตาลทรายจัดว่าเป็น System หรือไม่ ถ้าเป็น จงบอกองค์ประกอบของระบบการผลิตน้ำตาลทรายตามระบบ I P O มาโดยละเอียด

การผลิตน้ำตาลทรายจัดว่าเป็น system มีกระบวนการดังต่อไปนี้

I (Input)
1. การเตรียมดิน
          1.1 ควรเลือกที่ดอน น้ำไม่ขัง ดินร่วนซุย มีความอุดมสมบูรณ์ดี หน้าดินลึกอย่างน้อย 20 นิ้ว pH 5-7.7 แสงแดดจัด  และมีการกระจายของฝนสม่ำเสมอ การคมนาคมสะดวก 
          1.2 ควรปรับระดับพื้นที่และแบ่งแปลงปลูกอ้อย เพื่อความสะดวกในการใช้เครื่องจักรในการเตรียมดินปลูก และเก็บเกี่ยว ตลอดจนการระบายน้ำ
          1.3 การไถ ควรไถอย่างน้อย 2 ครั้ง หรือมากกว่า ความลึกอย่างน้อย 20 นิ้ว หรือ มากกว่า เพราะอ้อยมีระบบรากยาว ประมาณ 2-3 เมตร และทำร่องปลูก

2. การปลูก 
          2.1 ปลูกด้วยแรงคน คือหลังจากเตรียมดินยกร่อง ระยะระหว่างร่อง 1-1.5 เมตร แล้ว นำท่อนพันธุ์มาวางแบบเรียงเดี่ยวหรือคู่ ปัจจุบันเกษตรกรนิยมปลูกโดยวางอ้อยทั้งลำเหลื่อมกันลงในร่อง เสร็จแล้วกลบดินให้หนาประมาณ 3-5 เซนติเมตร ถ้าปลูกปลายฤดูฝนควรกลบดินให้หนาเป็น 2 เท่าของการปลูกต้นฤดูฝน
         2.2 การปลูกอ้อยโดยใช้เครื่องปลูก จะช่วยประหยัดแรงงานและเวลา เกษตรกรสามารถปลูกอ้อยได้วันละ 8-10 ไร่ แต่จะต้องมีการปรับระดับพื้นที่และเตรียมดินเป็นอย่างดีด้วย
3. การใส่ปุ๋ย เป็นสิ่งจำเป็น ควรมีการใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก และปุ๋ยพืชสดร่วมกับปุ๋ยเคมี เพื่อปรับสภาพทางกายภาพของดิน ปริมาณปุ๋ยที่ใส่ควรดูตามสภาพความอุดมสมบูรณ์ของดิน และการเจริญเติบโตของอ้อย ถ้ามีการวิเคราะห์ดินด้วยยิ่งดี ปุ๋ยเคมีที่ใส่ควรมีธาตุอาหารครบทั้ง 3 อย่าง คือ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโปตัสเซียม 
4. การกำจัดวัชพืช การกำจัดวัชพืชสำหรับอ้อยเป็นสิ่งจำเป็นในช่วง 4-5 เดือนแรก อาจใช้แรงงานคน แรงงานสัตว์ หรือสารเคมีกำจัดวัชพืชก็ได้ 
5. การตัดและขนส่งอ้อย เกษตรกรจะต้องปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ได้ผลตอบแทนสูงสุด ซึ่งเกษตรกรจะต้องรู้ว่าอ้อยของตัวเองแก่หรือยัง โดยดูจากอายุ ปริมาณ น้ำตาลในต้นอ้อย และวางแผนการตัดอ้อยร่วมกับโรงงาน 

P (Process)
1. การสกัดน้ำอ้อย   อ้อยจะไหลลงสะพานลำเลียงซึ่งมีชุดใบมีดและเครื่องตีอ้อย เพื่อเตรียมอ้อยให้เป็นเส้นใยหรือฝอยละเอียดก่อนเข้าสู่ชุดลูกหีบ เมื่อเข้าสู่กระบวนการสกัดน้ำอ้อย อ้อยจะเข้าไปในชุดลูกหีบ (4-5 ชุด)  น้ำอ้อยที่ได้จากชุดลูกหีบ จะถูกปั๊มไปผ่านตะแกรงกรองกากอ้อย แล้วส่งเข้าสู่กรรมวิธีทางวิศวกรรมเคมี เพื่่อรักษาคุณภาพน้ำอ้อยอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ โดยการควบคุมของคอมพิวเตอร์ในขั้นตอนต่าง ๆ จนกระทั่งได้น้ำอ้อยใส 
2. การต้ม น้ำอ้อยที่ผ่านการทำใสแล้วจะถูกนำเข้าสู่ชุดหม้อต้ม (Multiple Evaporator) เพื่อระเหยเอาน้ำออก(ประมาณ 70 %) โดยน้ำอ้อยข้นที่ออกมาจากหม้อต้มลูกสุดท้าย เรียกว่า น้ำเชื่อม (Syrup)
3. การเคี่ยวน้ำเชื่อมที่ได้จากการต้มจะถูกนำเข้าหม้อเคี่ยวระบบสุญญากาศ (Vacuum Pan) เพื่อระเหยน้ำออกจนน้ำออกจนน้ำเชื่อมถึงจุดอิ่มตัว ที่จุดนี้ผลึกน้ำตาลจะเกิดขึ้นมา โดยที่ผลึกน้ำตาล และกากน้ำตาลที่ได้จากการเคี่ยวนี้รวมเรียกว่า แมสิควิท (Messecuite)
4. การปั่นแยกผลึกน้ำตาล แมสิควิทที่ได้จากการเคี่ยวจะถูกนำไปปั่นแยกผลึกน้ำตาลออกจาก กากน้ำตาล โดยใช้เครื่องปั่น (Centrifugals) ผลึกน้ำตาลที่ได้นี้จะเป็นน้ำตาลดิบ
5. การอบ ผลึกน้ำตาลรีไฟน์และน้ำตาลทรายขาวที่ได้จากการปั่นก็จะเข้าหม้ออบ Dryer  เพื่อไล่ความชื้นออก โดยความชื้นสุดท้ายจะเหลือไม่ถึง1% แล้วบรรจุกระสอบ หรือแพคใส่ถุงใสเพื่อจำหน่ายต่อไปเป็นน้ำตาลทราย

O (Output)
สิ่งที่ได้คือ
1. น้ำตาลทราย
2. กากน้ำตาล
3. ชานอ้อย




retrieved from http://sugarcane2836.blogspot.com/p/blog-page_06.html

http://www.thaisugarmillers.com/tsmc-02-02.html

http://oan.cdmediaguide.co.th/mitrphol/onweb/thai-allSUGAR-04.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น